สมบัติของของสารของพันธุกรรม

สมบัติของของสารของพันธุกรรม


             เมื่อวอตสันและคริกค้นพบโครงสร้างทางเคมีของ DNA ขั้นตอนต่อไปก็คือ การพิสูจน์และตรวจสอบว่าโครงสร้างของ DNA นี้ มีสมบัติเพียงพอที่จะเป็นสารพันธุกรรมได้หรือไม่ ซึ่งการที่จะเป็นสารพันธุกรรมได้นั้นย่อมต้องมีสมบัติสำคัญ คือ
ประการแรก ต้องสามารถเพิ่มจำนวนตัวเองได้โดยมีลักษณะเหมือนเดิมเพื่อให้สามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกได้

ประการที่สอง สามารถควบคุมให้เซลล์สังเคราะห์สารต่างๆเพื่อแสดงลักษณะทางพันธุกรรมให้ปรากฏ

ประการที่สาม ต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดลักษณะพันธุกรรมที่ผิดแปลกไปจากเดิมและเป็นช่องทางให้เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ๆขึ้น

                หลักจากวอตสันและคริกได้เสนอโครงสร้างของ DNA แล้วในระยะเวลาเกือบ 10 ปีต่อมา จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่า DNA มีสมบัติเป็นสารทางพันธุกรรม วอตสันและคริกจึงได้รับรางวัลโนเบลค้านผลงานการค้นพบโครงสร้าง DNA ในปี พ.ศ. 2505 นับว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญยิ่งทางด้านวิทยาศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มต้นให้กับนักวิทยาศาสตร์ที่จะค้นคว้าในระดับโมเลกุลต่อไป


การสังเคราะห์ DNA
                วอตสันและคริกได้เสนอโครงสร้างของ DNA ว่าเป็น พอลินิวคลีโอไทด์ 2สายพันกันบิดเป็นเกียว ซึ่งเป็นโครงสร้างของ DNA ตามแบบจำลองนี้ได้นำไปสู่กลไกพื้นฐานของการสังเคราะห์ DNA หรือการจำลองตัวเองของ DNA โดยนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองได้พยากรณ์กลไกจำลองDNA ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
                ในปี พ.ศ. 2496 วอตสันและคริกได้พิมพ์บทความพยากรณ์การจำลองตัวของ DNA ได้ว่า ในการจำลองตัวของ DNA พอลินิวครีโอไทด์สาย แยกออกจากกันเหมือนการรูดซิบโดยการสลายพันธะไฮโดเจนระหว่างเบส กับ และเบส กับ ที่ละคู่ พอลินิวคลีโอไทด์แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่พิมพ์สำรับการสร้างสายใหม่ มีการนำคลีโอไทด์อิสระที่อยู่ในเซลล์เข้ามาจับกับ พอลิวคลีโอไทด์สายเดิม โดยเบส จับกับ และเบส จับกับ หมู่ฟอสเฟตของนิงคลีโอไทด์ อิสละจะจับกับน้ำตาลออสซีไรโบสของ DNA โดยวิธีนี้เรียกว่า DNA เรพลิเคชั่น ( DNA replication ) ทำให้มีการเพิ่มโมเลกุลของ DNA จาก โมเลกุลเป็น โมเลกุล DNA แต่ละโมเลกุลมีพลลิวคลีโอไทด์ สายเดิม สาย และสายใหม่มา สาย จึงเรียกการจำลองลักษณะว่า เป็นแบบกิ่งอนุรักษ์ ( semiconservatiae ) ดังภาพ

                 ตามแนวคิดที่เกี่ยวกับการจำลอง DNA ที่วอตสันและคริกเสนอนั้นเป็นเพียงสมมติฐาน แต่ในปี พ.ศ. 2499 อาร์เธอร์ คอนเบิร์ก (Atrhur kornberg) นักเคมีชางอเมริกันเป็นคนแรกที่สามารถสังเคราะห์โมเลกุลของ DNA ในหลอดทดลองได้สำเร็จ โดยนำเอ็นไซม์ DNA พอลิเมอเรส ( DNA polymerase) ซึงสกัดจากแบคทีเรีย E. coli ใส่ในหลอดทดลองที่มีสารประกอบที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ครบสมบูรณ์ ได้แก่ DNA แม่พิมพ์ นิงคลีโอไทด์ ชนิด คือ นิวคลีโอไทด็ที่มีเบส นิวคลีโอไทด็ที่มีเบส นิวคลีโอไทด็ที่มีเบส และ นิวคลีโอไทด็ที่มีเบส และเอ็นไซม์DNA พอลิเมอเรส ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมนิวคลีโอไทด์ให้ต่อกันกลายเป็นสายยาว โดยมีทิศทางการสังเคราะห์สาย ดีเอ็นเอสายใหม่ จากปลาย5 ไปยังปลาย3 ปัญหาก็คือจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่า DNA ที่สังเคราะห์ได้นั้นเหมือนกับ ดีเอ็นเอแม่พิมพ์ที่ใส่ลงไปในหลอดทดลอง นักเรียนจะได้ศึกผลการทดลองของคอนเบิร์นในตาราง 

ตารางแสดงอัตราส่วนของเบสใน DNA ที่สังเคราะห์ได้ในหลอดทดลองและ DNA แม่พิมพ์
                จากผลการทดลอง DNA พบว่าที่สังเคราะห์ได้ในหลอดทดลอง มีอัตราส่วนของเบส A+T ต่อ C+G แทบจะกล่าวได้ว่าเท่ากัน อัตราส่วนดังกล่าวนี้ไม่ได้เป็นความบังเอิญ เพราะจากผลการทดลองเป็นเช่นนี้เสมอไม่ว่าจะได้ DNA ของสิ่งมีชีวิตชนิดใดเป็นแม่พิมพ์ก็ตาม
                การค้นพบเอ็นไซร์ที่ใช้ในการเชื่อมนิวคลีโอไทด์เข้าด้วยกันนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของวิชาพันธุศาสตร์พบว่าการสังเคราะห์ DNA สามารถเกิดขึ้นได้ในหลอดทดลองโดยไม่จำเป็นต้องเกดขึ้นในเซลล์เท่านั้น
                ปัจจุบันมีการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันได้ว่า DNA มีกระบวนการจำลองตัวขอล DNA โดยกระบวนการดังกล่าวเป็นไปแบบกึ่งอนุรักษ์ จากความรู้ที่ว่าการสังเคราะห์พอลินิงคลีโอไทด์ สายใหม่จะต้องสร้างในทิศ ไป เสมอ
                    จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ พบว่าการสังเคราะห์ DNA สายใหม่ สาย มีส่วนแตกต่างกันคือ สายหนึ่งจะสร้าง ต่อเนืองกันเป็นสายยาว เรียกสายนี้ว่า ลีดดิงสแตรนด์ ส่วนสายใหม่อีกสายหนึ่งไม่สามารถสร้างต่อกันเป็นสายยาวได้เหมือนสายแรกเนื่องจากทิศทางการสร้างจากปลาย 5ไปยังปลาย นั้นสวนทางกับทิศกลายคายเกลียวของ DNA โมเลกุลเดิม จึงสร้างพอลินิงคลีโอไทด์ สายสั้นๆที่มีทิศทางจาก 5ไป3จากนั้น เอนไซม์ไลเกส จะเชื่อมต่อสายสั้นๆเหล่านี้ให้เป็นสายเดียวกันเรียกว่า DNA แลกกิงสแตรนด์

DNA ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมได้อย่างไร
                ทราบหรือไม่ว่า DNA บรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมจำนวนมากของสิ่งมีชีวิตไว้อย่างไร โครงสร้างของ DNA ประกอบด้วย พอลินิวคลีโอไทด์ทั้งสองสายที่มีความยาวนับพันหมื่นคู่เบส การเรียงลำดับเบสมีความแตกต่างกันอยู่หลายแบบ ทำให้ DNA แต่ละโมเลกุลแตกต่างกันที่ลำดับจำนวนคู่เบสมีเบสเพียง ชนิด คือ A T C และ จึงเป็นไปได้ว่าความแตกต่างทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตอยู่ที่ลำดับและจำนวนของเบสใน DNAนั้นเอง ปัญหาต่อไปก็คือลำดับเบสของ DNA เกี่ยวข้องกับการแสดงลักษณะทางพันธุกรรมอย่างไร นักเรียนทราบมาแล้วว่าโปรตีนเป็นสารอินทรีย์มีหลายชนิดมีบทบาทไนการแสดงลักษณะเฉพาะของเชลล์ได้เช่น เชลล์กล้ามเนื้อมีโปตีนแอกทินและไมโอซิน เซลล์เม็ดเลือดแดงมีมีโปรตีนฮีโมโกลบิน นอกจากนี้เอ็นไซม์ทุกชนิดที่ช่วยให้เกิดการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆภายในเซลล์ก็เป็นโปรตีนด้วย เช่นปฏิกิริยาสังเคราะห์สารและสลายสารต่างๆต้องอาศัยเอ็นไซม์ จึงอาดกล่าวได้ว่าโปตีนเกี่ยวข้องกับการแสดงทางพันธุกรรม และการดำรงชีวิตทั้งโยทางตรงและทางอ้อม
                ในปี 2500 วี เอ็ม อินแกรม ( V. M. Ingrame ) แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้ศึกษาโครงสร้างทางเคมีของฮีโมโกบินที่ผิดปกติ โดยการเปรียบเทียบฮีโมโกบินของคนที่เป็นโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์กับฮีโมโกบินของคนปกติ
                อินแกรมแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบของฮีลโมโกบิลในคนปกติและคนที่เป็นโรคโลหิตจางชนิดซิกเซลล์ต่างกันที่การเรียงตัวของกรดอะมิโนเพียง 1 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งที่ จากปลาย N ( N-terminus ) ของสายพอลิเพปไทด์ที่ชื่อว่าบีตา สายหนึ่งของฮีโมโกบินในคนปกติจะเป็นกรดลูตามิก ( glutamic acid ) ส่วนคนที่เป็นโรคจะเป็นวาลีน ( valine ) ความผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้ มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลง DNA หรือยีนที่ทำให้ฮีโมโกบินผิดปกติ
                ถ้า DNA ควบคุมการสร้าวฮีโมโกบินซึ่งเป็นโปรตีน ปัญหาก็คือ DNA เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสงโปรตีนได้อย่างไร

DNA กับการสังเคราะห์โปรตีน
                นอกจาก DNA ที่เป็นกรดนิวคลีอิกแล้ว ก็ยังมี RNA ที่เป็นกรดนิวคลีอิกเช่นเดียวกันซึ่ง RNA มีลักษณะเป็นพอลิเมอร์สายยาวของนิวคลีโอไทด์ ที่เชื่อมต่อด้วยพันธะโคเวเลนซ์ระหว่างหมู่ฟอสเฟตและหมู่ไฮดรอกซิลของโมเลกุลน้ำตาล เช่นเดียวกับโมเลกุลของ DNA แต่ RNA แตกต่างจาก DNA ตรงที่น้ำตาลเพนโทสประกอบขึ้งเป็น RNA นั้น เป็นน้ำตาลไรโบสแทนน้ำตาลดีออกซีไรโลส และจะไม่พบเบสไทมีน ( T ) เป็นองค์ประกอบ แต่จะมีเบสยูลาซิว (U) ดังภาพ 
  ภาพแสดงไรโบนิวคลีโอไทด์ที่มีเบสยูราซิล

               สิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอตมี DNA อยู่ภายในนิงเคลียส แต่การสังเคราะห์โปรตีนเกิดในไซโทพลาสซึม โดยเฉพาะบริเวณที่มีเอ็นโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิงขรุขระ เป็นไปได้หรือไม่ว่า DNA ส่งตัวแทนออกมายังไซโทพลาสซึม เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนถ้าเป็นเช่นนั้นจริงสารที่เป็นตัวแทนของ DNA คืออะไร จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า ข้อมูลทางพันธุกรรมใน DNA ได้ส่งไปยังการสังเคราะห์โปรตีนโดยตรง แต่จะมีตัวแทนทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส คน คือ ฟลองซัวจาค็อป และ จาค โมนอด ได้มีข้อเสนอว่าRNA เป็นตังกลางที่อยู่ระหว่าง DNA กับไรโบโชรมตาม สมมุติฐาน ดังภาพ
ภาพแสดงสมมุติฐานของ ฟรองซัว จาค๊อป และ จาค โมนอด


               RNA เป็นตัวกลางนี้เรียกว่า mRNA ( messenger RNA ) จะเป็นตัวข้อมูลทางพันธุกรรมจาก DNA ไปยังไรโบโซม ซึ่งได้รับการยืนยันจากนักวิทยาศาสตร์ 2 คน คือ เจราร์ด เฮอร์วิทซ์ และ เจเจ เฟอร์ธ เกี่ยวกับอยู่และทำหน้าที่ของ mRNA กระบวนการสังเคราะห์โปรตีนจึงประกอบด้วย
 การสังเคราะห์ RNA จาก DNA แม่พิมพ์ และการสังเคราะห์ที่ไรโบโซม
             การสังเคราะห์ RNA โดยมี DNA เป็นแม่พิมพ์จะคล้ายกับการสังเคราะห์ DNA แต่การสังเคราะห์ RNA ใช้ DNA เพียงสายเดียวเป็นแม่พิมพ์ ใช้เอ็นไซม์ RNA พอลิเมอร์ และไรโบนิวคลีโอไทด์ ชนิด คือ ไรโบนิวคลีโอไทด์ที่มีเบส ไรโบนิวคลีโฮไทด์ที่ทีเบส ไรโบนิวคลีโฮไทด์ที่ทีเบส G

การสังเคราะห์ RNA มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นเริ่มต้น เอ็นไซม์ RNA พอลิเมอร์เลสจะเข้าไปจับกับ DNA ตรงบริเวณที่จะสังเคราะห์ RNA ทำให้พันธะไฮโดเจนระหว่างคู่เบสสลาย พอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายของ DNA จะคายเกลียวแยกออกจากัน โดยมีสายใดสายหนึ่งเป็นแม่พิมพ์ดังภาพ 



       ขั้นการต่อสายยาว ไรโบนิวคลีโอไทด์ที่มีเบสที่เข้าคู่กับนิงคลีโอไทด์ของ DNA สายแม่พิมพ์คือเบส C เข้าคู่กับ G และเบส U เข้าคู่กับ A จะเข้ามาจับกับนิวคลีโอไทด์ของ DNA แม่พิมพ์ เอนไชม์ RNA พอลิเมอเรสจะเชื่อมไรโบนิวคลีโอไทด์อิสระมาต่อกันเป็นสายยาว โดยมีทิศทางการสังเคราะห์สาย RNA จากปลาย 5 ไปยังปลาย 3 และกาวสร้างสาย RNA นั้น จะเรียงสลับกับทิศสาย DNA ที่เป็นแม่พิมพ์

ขั้นสิ้นสุด เอนไซม์อาเอ็นเอพอลิเมอเลสหยุดทำงานและแยกตัวออกจาก DNA สายแม่พิมพ์สาย RNA ที่สังเคราะห์ได้จะแยกออกจาก DNA ไปยังไซโทพลาสซึม ส่วน DNA 2 สายจะจับคู่กันและบิดเป็นเกลียวเหมือนเดิม


           จากที่กล่าวมาว่า DNA เป็นแม่พิมพ์ในกางสังเคราะห์ mRNA ดังนั้นข้อมูลทางพันธุกรรมใน DNA จะถ่ายทอดให้กับ mRNA การเรียงลำดับของ     นิวคลีโอไทด์ชนิดต่างๆ ของ mRNA จึงเป็นตัวกำหนดการเรียงลำดับของกรดอะมิโนเพื่อสังเคราะห์โปรตีน เนื่องจากกรออะมิโนเพื่อใช้ในการสังเคราะห์โปรตีนมีประมาณ 20 ชนิด การกำหนดรหัสพันธุกรรม ในสาย mRNA จะประกอบด้วยกี่นิงคลีโอไทด์ต่อ 1 รหัสพันธุกรรม จึงจะคลุม
ของกรดอะมิโน 
20 ชนิด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น